เป็นสัตว์น้ำที่โดยทั่วไปชอบกินพืชในน้ำ ตะใคร่น้ำ ซากพืช เป็นอาหาร และอาหารพวกสิ่งมีชีวิตเล็กๆในน้ำ แมลงต่างๆ
สภาพอากาศ มีผลต่อวิถีชีวิตของปลาเกล็ดมาก ปลาเกล็ดจะไวต่อสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว เสียง อุณหภูมิ คลื่นลม สภาพอากาศ สภาพน้ำ มีผลกับพฤติกรรมการกินอาหารของปลาเกล็ด
ในการตกปลาเกล็ด เหยื่อที่เรานิยมจึงเป็นอาหารประเภทรำ หัวอาหาร แป้งผสมต่างๆ กุ้ง ใข่มด ใส้เดือน หนอนน้ำ
ปลาเวียน น้ำหนัก 12.6 kg.ยาว 94 cm. ตกได้ที่ตะวันปลายฟ้า
ปลาเวียน(Thai Mahseer, Greater Brook Carple )
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tor tambroides
ลักษณะ เป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียนขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง รูปร่างลักษณะคล้ายปลาพลวง (Neolissocheilus soroides) ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกัน เว้นแต่ริมฝีปากบนมีแผ่นหนังยื่นออกมาทำให้ดูคล้ายจงอยปากงุ้มลง และรูปร่างลำตัวที่เพรียวกว่า ขนาดเฉลี่ยโดยทั่วไปประมาณ 60 cm. ขนาดใหญ่สุดที่พบ 1 m.
อาศัยตามแหล่งน้ำสะอาดตามต้นน้ำลำธาร
สำหรับแหล่งที่อยู่อาศัยพบปลาเวียนวัยเจริญพันธุ์ในแม่น้ำเพชรบุรี ปัจจุบันพบในเขื่อนแก่งกระจานและแม่น้ำเพชรบุรีบริเวณต้นแม่น้ำ
อาหารจะกินพืชพรรณไม้น้ำ ผลไม้ และเมล็ดพืชทุกชนิด นอกจากนี้ยังสามารถกินพวกอาหารสด เช่น เนื้อกุ้ง เนื้อหอย เนื้อปลาเล็กๆ
ปลานิล(Nile Tilapia)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Oreochromis niloticus
ปลานิลเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 จำนวน 50 ตัว
ลักษณะทั่วไปปลานิลมีเป็นรูปร่างคล้ายปลาหมอเทศ แตกกันที่ปลานิลมีลายสีดำและจุดสีขาวสลับกันไป บริเวณครีบหลัง ครีบก้นและลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล มีลายดำพาดขวางตามลำตัว มีความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร
อาหารปลานิลกินอาหารได้หลากหลาย เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลง กุ้งฝอย
นิสัยปลานิลมีนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง (ยกเว้นเวลาสืบพันธุ์) มีความอดทนและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี
ปลาช่อน น้ำหนัก 2.5 kg. ตกได้หน้าตะวันปลายฟ้า
ปลาช่อน(Striped Snake-head Fish)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Channa striatus
ลักษณะอยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) เป็นปลามีเกล็ด เกล็ดมีขนาดใหญ่ลำตัวเป็นสีเทาจนถึงน้ำตาลอมเทา ปากกว้างมาก มุมปากยาวถึงตา ริมฝีปากล่างยื่นยาวกว่าริมฝีปากบน มีฟันซี่เล็กๆอยู่บนขากรรไกรทั้งสองข้าง ตามีขนาดใหญ่ ครีบทุกครีบไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหลังและครีบก้นยาวจนเกือบถึงโคนหาง ลำตัวส่วนหลังมีสีดำ ท้องสีขาว ข้างลำตัวมีลายดำพาดเฉียง มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ มีความอดทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี อยู่ในที่ชื้นๆได้นาน สามารถฝังตัวอยู่ในโคลนได้เป็นเวลานาน
ตามธรรมชาติปลาช่อนจะสร้างรังวางไข่ตามแหล่งน้ำนิ่ง ความลึกประมาณ 30-100 รังมีลักษณะเป็นวงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30-40 เซนติเมตร ดินใต้น้ำปลาก็จะตีแปลงจนเรียบ
หลังจากวางไข่แล้ว พ่อแม่ปลาจะคอยรักษาไข่อยู่ จนกระทั่งฟักเป็นตัว ดูแลพาลูกหาอาหาร จนลูกปลามีขนาด 4.5-6 เซนติเมตร จึงสามารถแยกตัวออกไปหากินตามลำพังได้ ซึ่งลูกปลาวัยนี้ เรียกว่า ลูกครอก
ปลาชะโด น้ำหนัก 5 kg. ตกได้หน้าตะวันปลายฟ้า
ปลาชะโด(Giant Snake-head Fish)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Channa micropeltes
ลักษณะอยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) โดยชะโดจัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ โดยมีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1 เมตร หรือ 1.5 เมตร หนักถึง 20 ก.ก. มีรูปร่างลำตัวค่อนข้างกลมยาว พื้นลำตัวสีน้ำตาลอมเขียว มีลายประสีดำกระจายทั่วตัว ปากมีฟันแหลมคม เมื่อยังเป็นปลาขนาดเล็กจะมีสีลำตัวเป็นสีน้ำตาลและมีแถบสีดำ ส้ม และเหลืองพาดตามความยาวลำตัว 2 แถบ บริเวณหางสีแดงสด เมื่อเริ่มโตขึ้นมาสีและลายจะเริ่มจางหายไปกลายเป็นสีเขียวอมน้ำตาลคล้ายสีของเปลือกหอยแมลงภู่แทน
อาหารเป็นปลากินเนื้อมีอุปนิสัยดุร้ายมากที่สุดด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูผสมพันธุ์ปลาตัวผู้ซึ่งเป็นผู้ดูแลไข่และลูกอ่อน จะกัดและทำร้ายสัตว์ทุกชนิดที่ผ่านเข้ามาใกล้รัง ไม่เว้นแม้กระทั่งคน จึงมักมีผู้ถูกชะโดกัดทำร้ายบ่อย ๆ ช่วงฤดูผสมพันธุ์ของปลาชะโด เดือนกรกฎาคม-กันยายน รังมีการตีแปลงใกล้ชายฝั่ง เรียกว่า "ชะโดตีแปลง
ปลาบู่(Sand Gody) .
ชื่อวิทยาศาสตร์ Oxyeleotoris marmoratus Bleeker
ลักษณะแตกต่างจากปลาอื่น คือ มีลำตัวยาวทรงกระบอก มีส่วนหัวและจะงอยปากมน มีเส้นข้างลำตัวและแถวของเส้นประสาทอยู่บนหัวหลายแถว ครีบหลังแยกเป็น 2 ตอนชัดเจน ครีบหางกลมมน ครีบก้นยาว ครีบอกใหญ่ ครีบท้องส่วนมากจะแยกออกจากกัน แต่ก็มีในบางชนิดที่เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย เกล็ดมีทั้งขนาดเล็กและใหญ
่
อาหารเป็นปลากินเนื้อ กินแมลง สัตว์น้ำขนาดเล็ก และปลา วางไข่โดยตัวผู้และตัวเมียช่วยกันดูแล ไข่มีรูปร่างคล้ายผลองุ่นติดกับวัสุดเป็นแพ เมื่อฟักเป็นตัวจะปล่อยให้หากินเอง ส่วนมากมีขนาดเล็กยาวไม่เกิน 20 เซนติเมตร
ปลากระเบน(Stingray ) .
ชื่อวิทยาศาสตร์ Himantura signifer
ลักษณะ เป็นปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่งที่พบได้ทั้งน้ำจืดสนิท น้ำกร่อย และทะเล มีรูปร่างแบนราบ มีท่อน้ำออก 1 คู่ อยู่ด้านหลังของหัว ซึ่งทำหน้าที่ให้น้ำผ่านเข้าทางเพื่อไหลเวียนผ่านเหงือกเพื่อการหายใจ ซึ่งจะไม่ไหลเวียนผ่านปากซึ่งอยู่ด้านล่างลำตัว เคยพบใหญ่สุดกว้าง 4.2 เมตร
อาหาร หากินตามพื้นท้องน้ำโดยอาหารได้แก่ ปลาขนาดเล็ก, สัตว์หน้าดิน และสัตว์มีเปลือก จะว่ายขึ้นมาหากินบริเวณผิวน้ำบ้างเป็นบางครั้ง
next> |