ลักษณะ มีลำตัวกลม ครีบและหางเล็ก ว่ายน้ำได้เชื่องช้า หัวโต ฟันแหลมคมใช้สำหรับขบกัดสัตว์น้ำมีเปลือก เช่น กุ้งฝอย หอย เป็นอาหาร
เมื่อตกใจ สามารถสูดน้ำหรือลมเข้าช่องท้องให้ตัวพองได้คล้ายลูกโป่ง บางชนิดมีหนาม ขนาด โตเต็มที่พบมีความยาวประมาณ 14 เซนติเมตร พบได้ทั่วไป ตามแหล่งน้ำ หนอง คลอง บึงและแม่น้ำ
ที่พบเห็นคือ ปักเป้าเขียว ปักเป้าเหลือง ปักเป้าทอง
ปักเป้าตาแดง ปักเป้าขน ปักเป้าควาย ปักเป้าจุด ปักเป้าหางวงเดือน ปักเป้าจุดส้ม ปักเป้าปากยาว ปักเป้าท้องตาข่าย
พิษปลาปักเป้า มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า tetrodotoxin (TTX) สารพิษนี้ทนต่อความร้อนได้เป็นอย่างดี ความร้อนที่อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียส นาน 10 นาที ก็ไม่สามารถทำลายสารพิษนี้ได้
ดังนั้นพิษจะไม่ถูกทำลายจากกระบวนการประกอบอาหาร ขนาดปริมาณพิษ 2 มิลลิกรัมก็ทำให้มนุษย์เสียชีวิตได้
ปลาปักเป้าทะเล มีพิษมากที่สุดในส่วนของไข่ ตับ ลำไส้ และหนัง
ปักเป้าน้ำจืด มีพิษมากที่สุดในหนังปลา รองลงมาไข่ปลา เนื้อปลา ตับ และลำไส้ ตามลำดับ
สาเหตุการรับพิษจากปลาปักเป้าส่วนใหญ่เกิดจากการกินปลาปักเป้า
พิษมีผลทำให้เกิดอาการชาลิ้น อาเจียน กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง เดินเซ ขยับเขยื้อนไม่ได้ หายใจลำบาก ซึ่งหากเป็นมากและรักษาไม่ทันจะทำให้เสียชีวิตได้ อาการมักเกิดอย่างรวดเร็วหลังรับประทานปลาปักเป้า(ประมาณ 5-20 นาที หรืออาจนาน 2 - 3 ชั่วโมงได้)
การแก้พิษเบื้องต้น
ต้องส่งโรงพยาบาลทันทีเพราะการแก้พิษเบื้องต้นยังไม่มีวิธีไหนช่วยได้
|