ปลาเป็นสัตว์เลือดเย็น (poikilothermal animals)
อุณหภูมิของเลือดเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมไม่คงที่ โดยทั่วไปอุณหภูมิในตัวปลาจะต่างจากน้ำรอบตัว 0.5-1 องศาเซลเซียส นักวิทยาศาสตร์ได้จัดความรู้เรื่องปลา
ไว้ในหมวดวิชา มีนวิทยา (ichthyology) อาศัยอยู่ในน้ำ ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม หายใจด้วยเหงือก เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง ผสมพันธุ์ได้ทั้งภายในและภายนอก แบ่งเป็นแบบมีเกล็ดและไม่มีเกล็ด เคลื่อนไหวด้วยครีบและกล้ามเนื้อลำตัว มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร(ยกเว้นปลาจำพวกปลาฉลาม) มีสมมาตรด้านข้าง มีช่องลำตัว ระบบต่างๆพัฒนาสูงสุด
เป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่ใน ไฟลัมคอร์ดาตา (Phylum Chordata) อยู่ในซับไฟลัมเวอร์ทีบราตา (Vertebrata) แบ่งเป็น 3 คราส
1.คราสแอ็กนาทา (Agnatha)
เป็นพวกปลาที่ไม่มีขากรรไกร ลำตัวยาวคล้ายปลาไหล แต่จะมีปากแบบวงกลมและมีฟันเล็ก ๆ แหลมคมจำนวนมาก ลำตัวนิ่ม ไม่มีเกล็ด ไม่มีครีบคู่เหมือนปลาทั่วไป มีช่องเหงือก 7 คู่ สำหรับหายใจ มีโครงสร้างเป็นกระดูกอ่อน พบได้ทั้งน้ำจืดและทะเล ได้แก่ ปลาปากกลม (cyclostome)
2. คราสคอนดริกไทอีส (Chondrichthyes)
เป็นพวกปลาที่มีกระดูกอ่อน สัตว์ในคลาสนี้มีโครงสร้างเป็นกระดูกอ่อนทั้งหมด มีทั้งครีบคู่และครีบเดี่ยว หนังหนามีเกล็ดขนาดเล็กและขนาดใหญ่คล้ายจานยื่นออกมา ไม่มีกระเพาะลม ปากอยู่ด้านล่าง ภายในปากมีฟันคมเป็นซี่เล็กๆ มีการปฎิสนธิภายใน ปลาพวกนี้มีช่องเหงือกเห็นได้ชัดเจนจากภายนอก เช่น ปลาฉลาม ปลากระเบน
3. คราสออสทีอิกไทอีส (Osteichthyes)
เป็นปลาที่มีกระดูกแข็ง ผิวหนังมีเกล็ดซ้อนกัีนบางๆ บางพวกไม่มีเกล็ด กระดูกภายในเป็นกระดูกแข็ง มีครีบ 2 คู่ใช้ในการเคลื่อนที่ ทรงตัว หายใจด้วยเหงือก มีแผ่นแก้มปิดช่องเหงือก เีรียกว่า ฝาปิดเหงือก โอเพอคิวลัม (operculum) ทำให้มองไม่เห็นช่องเหงือก มีถุงลม ปากอยู่ปลายสุดทางหัว ส่วนใหญ่ปฏิสนธิภายนอกร่างกาย มีหัวใจ 2 ห้อง มีเส้นประสาทสมอง 10 คู่มีอวัยวะสั่นสะเทือนอยู่ข้างลำตัวเป็นเส้น เรียกว่า เส้นข้างลำตัว (lateral line) มีรูจมูกเล็ก 1 คู่ ทำหน้าที่ดมกลิ่น บางชนิดเหงือกอุ้มน้ำได้ดีจึงสามารถอยู่บนบกได้ในเวลาสั้นๆ เช่น ปลาตีนและปลาหมอ
next >
|